20 ขั้นตอนในการบำรุงรักษาระบบแอร์ให้ใช้งานได้นานขึ้น
20 ขั้นตอนในการบำรุงรักษาระบบแอร์ให้ใช้งานได้นานขึ้น

20 ขั้นตอนในการบำรุงรักษาระบบแอร์ให้ใช้งานได้นานขึ้น

ระบบปรับอากาศเมื่อใช้งานในระยะเวลาหนึ่งจะทำให้สมรรถนะลดลงทำให้เกิดการใช้พลังงานสูงขึ้น หรือมีการใช้งานที่ไม่ถูกต้องก็ทำให้เกิดการใช้พลังงานสูงขึ้นเช่นกัน  ดังนั้นผู้ดูแลระบบปรับอากาศจะต้องศึกษาถึงการใช้ การดูแลรักษา และการปรับปรุงระบบเพื่อให้เกิดใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดดังนี้
1. ควรปรับตั้งอุณหภูมิให้เหมาะกับการใช้งานในแต่ละบริเวณ และควรปรับตั้งตามภาวะความร้อนของแต่ละวันและของแต่ละฤดูกาล  อาคารหลายแห่งมักมีปัญหาเสมอเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้  ซึ่งมักจะมีคนชอบปรับตั้งเทอร์โมสตัต  ดังนั้นอาจใช้เทอร์โมสตัตแบบล็อกค่าอุณหภูมิได้  หรือใช้เครื่องปรับอากาศให้มีขนาดพอดี หรือเล็กกว่าความต้องการเล็กน้อย  ส่วนคาคารที่ใช้เครื่องทำน้ำเย็นควรปรับอุณหภูมิน้ำเย็นให้สูงขึ้นจาก 44 - 45 เป็น 47-48  ในฤดูหนาว ฤดูฝน หรือช่วงเวลากลางคืน หรือเมืออากาศภายนอกมีเอนทาลปีต่ำ ควรเพิ่มอุณหภูมิภายในอาคารให้สูงขึ้น 3-4 F

2. ควรเลือกใช้เทอร์โมสตัดที่มีคุณภาพดี มีความแม่นยำสูง  เพื่อควบคุมอุณหภูมิห้องให้สม่ำเสมอ โดยเทอร์โมสตัตควรมีการ swing ของอุณหภูมิไม่เกิด 1 F

3. ตั้งเทอร์โมสตัดให้ควบคุมอุณหภูมิห้องตามสภาวะอากาศภายนอก  ซึ่งขึ้นอยู่กับฤดูกาล  โดยทั่วไปควรตั้งอุณหภูมิไวที่ 70-80 F รวมทั้งปิดพัดลมระบายอากาศ สำหรับบริเวณปรับอากาศที่มีจำนวนคนไม่หนาแน่น และไม่มีการสูบบุหรี่

4. ในเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก ถ้าบริเวณนั้นมีเครื่องปรับอากาศหลายชุด ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศพร้อมกันหมด  ควรเปิดเครื่องปรับอากาศให้พอดีกับภาระการปรับอากาศในขณะนั้นๆ และควรปรับตั้งอุณหภูมิในแต่ละเครื่องไม่ให้เท่ากัน  เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานในเวลาเดียวกันหมด

5. อย่าเปิดประตู หน้าต่าง ทิ้งไว้  เนื่องจากจะทำให้อากาศร้อนจากภายนอกเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณปรับอากาศ  ซึ่งจะส่งผลทำให้ภาระของเครื่องปรับอากาศสูงขึ้น

6. พื้นที่ปรับอากาศที่มีการใช้งานไม่พร้อมกัน ควรกั้นเป็นห้องเฉพาะส่วน

7. หมั่นตรวจสอบรอยรั่วของระบบน้ำยาซึ่งเมื่อเกิดการรั่วของน้ำยา จะทำให้ความสามารถในการทำความเย็นของเครื่องลดลง  แต่ยังใช้พลังงานเท่าเดิม  หรืออาจมากขึ้น  เนื่องจากน้ำยาในวงจรมีน้อยลง  และอาจทำให้คอมเพรสเซอร์ใช้น้ำยาเป็นตัวกลางในการระบายความร้อน  นอกจากนั้นอาจทำให้ท่อทองแดงแตกได้  เนื่องจากความดันใน cooler  ลดต่ำลงมาก  ทำให้อุณหภูมิผิวท่อต่ำมาก  จนทำให้น้ำเย็นที่ไหลในท่อทองแดงเป็นน้ำแข็ง  ซึ่งจะมีปริมาณมากขึ้น อาจดันให้ท่อทองแดงแตกได้

8. พื้นที่ปรับอากาศที่มีการใช้งานน้อยกว่า 1 ชั่วโมง  ไม่ควรเปิดใช้เครื่องปรับอากาศ

9. เริ่มเดินเครื่องปรับอากาศ ให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้  โดยคำนึงถึงสภาวะอากาศภายในห้องที่ต้องอยู่ในสภาวะเหมาะสม  เมื่อเริ่มใช้อาคาร  (optimum start)  ซึ่งระยะเวลาจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมวลของโครงสร้าง ลักษณะอาคารทางสถาปัตย์และความเป็นฉนวนของโครงสร้าง รวมทั้งขนาดของเครื่องปรับอากาศ

10. หยุดเดินเครื่องปรับอากาศให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยสภาวะอากาศภายในห้องปรับอากาศยังคงอยู่ในสภาวะสุขสบาย จนกระทั่งเลิกใช้งาน (optimum stop)  ซึ่งระยะเวลาจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมวลโครงสร้าง  ลักษณะอาคารทางสถาปัตย์ และความเป็นฉนวนของโครงสร้าง

11. ควรปรับตั้งอุณหภูมิของน้ำเย็นที่ออกจากเครื่องทำน้ำเย็นให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น  เมื่อสภาวะอากาศภายนอกอาคารมีอุณหภูมิต่ำ  หรือภาระความร้อนภายในอาการต่ำ  โดยทั่วไปควรปรับอยู่ที่ประมาณ 46 - 48 F

12. ปรับตั้งอุณหภูมิของน้ำระบายความร้อนให้ต่ำที่สุด  โดยการเปิดหอผึ่งน้ำเย็นเพิ่มขึ้น  และทำความสะอาดหอผึ่งน้ำ  รวมทั้งคอนเดนเซอร์อย่างสม่ำเสมอ  โดยทั่วไปควรปรับตั้งอุณหภูมิให้อยู่ประมาณ 85-90 F

13. ขดท่อความร้อน Condenser เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น  ดังนั้นจึงต้องทำความสะอาดพื้นผิวแลกเปลี่ยนความร้อนอย่างสม่ำเสมอ  จะส่งผลทำให้เกิดการประหยัดพลังงานมาก  โดยทั่วไปเครื่องปรับอากาศแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ  ก็ใช้ลมเป่า ใช้น้ำเย็น หรือน้ำอุ่นฉีดล้าง  แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง  ส่วนเครื่องทำน้ำเย็นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ให้ใช้สารละลายกรดเจือจางล้าง  แล้วใช้แส้โลหะขัดภายในท่ดทองแดง หรืออาจใช้วิธีการล้างอัตโนมัติที่ใช้ลูกบอลหรือแปรงขัดภายในท่อทองแดงตลอดเวลา

14. แผ่งกรองอากาศ (air filter)  และขอท่อความเย็น (evaporator)  จะหมั่นทำความสะอาดเสมอ  เพื่อให้เกิดการถ่ายเทความร้อนระหว่างสารทำความเย็นกับอากาศ  หรือระหว่างน้ำกับอากาศมีประสิทธิภาพสูงสุด  ซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัดพลังงาน  และอายุการใช้งานของขอท่อความเย็นสูงขึ้น

15. ควรหรี่ช่องทางนำอากาศภายนอกเข้าสู่อาคารในช่วงเริ่มเดินเครื่อง  และช่วงปิดเครื่อง  หรือในช่วงที่มีคนอยู่ภายในอาคารน้อย  และกรณีที่เอ็นทาลปีของอากาศภายนอกต่ำกว่าอากาศภายในอาคาร ควรนำอากาศภายนอกเข้าสู่อาคารให้มากที่สุด

16. ควรใช้ม่านชนิดสะท้อนความร้อนจากการแผ่รังสีดวงอาทิตย์ที่จะผ่านกระจกเข้าสู่อาคารในทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้  ในช่วงเช้า  และกระจกในทิศตะวันตก และตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงบ่ายจะส่งผลทำให้ภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศลดลง

17. เครื่องปรับอากาศทุกแบบ  ทั้งแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (air cooled)  และแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ (water cooled)  ต้องให้อากาศเข้าไประบายความร้อนได้สะดวก  ดังนั้นควรระวังอย่าให้มีสิ่งกีดขวางลมที่เข้าและออก  ซึ่งจะส่งผลให้เครื่องปรับอากาศ  ทำความเย็นได้น้อยลง  หรืออาจทำให้ลมวนกลับเข้ามาระบายความร้อนใหม่  ซึ่งอากาศนั้นมีอุณหภูมิและความชื้นสูงจะทำให้สรรถนะในการระบายความร้อนลดลง

18. ควรบังแดดให้แก่อุปกรณ์ระบายความร้อนต่างๆ ทั้งคอนเดนเซอร์ของเครื่องปรับอากาศแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ และหอผึ่งน้ำของเครื่องปรับอากาศแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ  ซึ่งจะช่วยให้อุณหภูมิผิวของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนลดลง  รวมทั้งอุณหภูมิอากาศที่เข้าระบายความร้อนลดลงด้วย  นอกจากนั้นอุณหภูมิของน้ำในหอผึ่งน้ำจะต่ำลง  ทั้งยังช่วยลดการเจริญเติบโตของสาหร่ายและตะไคร่น้ำ  ซึ่งจะทำให้คอนเดนเซอร์ของเครื่องพักน้ำเย็นอุดตันช้าลง  ส่งผลให้คอมเพรสเซอร์ใช้พลังงานน้อยลง

19. ทำความสะอาดรูหัวฉีด (nozzie ของหอผึ่งน้ำ)  เนื่องจากเมื่อใช้งานไปนานๆ จะเกิดตะกรัน ตะไคร่น้ำ และสิ่งสกปรกต่างๆ เกาะ ทำให้เกิดการอุดดันหรือรูหัวฉีดเล็กลง ทำให้น้ำเป็นสเปรย์ได้ดี  ส่งผลให้อากาศที่เข้าระบายความร้อนสัมผัสกับน้ำระบายความร้อนได้ไม่เท่าที่ควร  ส่งผลให้อุณหภูมิของน้ำที่ออกจากหอผึ่งเย็นสูง  ทำให้เครื่องทำน้ำเย็นมีสมรรถนะลดลง

20. ทำความสะอาดอ่างน้ำและฟิลลิ่งของหอผึ่งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้หอผึ่งทำงานได้อย่างมีสรรถนะสูงสุด

หากสนใจบริการบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย และระบบแอร์ ท่านสามารถติดต่อเราได้ดังนี้

  • ทางอีเมล์ : info@datacomm-asia.com
  • ทางโทรศัพท์ : 02-0014870
  • เปิดทำการวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08:30 - 17:30 น.